ที่มาของสับปะรด

 สับปะรด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80–100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล

เป็นผลไม้เขตร้อนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสามของโลก โดยรัฐฮาวายเป็นแหล่งเพาะปลูกสับปะรดที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ. 2016 คอสตาริกาบราซิล และฟิลิปปินส์มีสัดส่วนการผลิตสับปะรดเกือบ 1 ใน 3 ของโลก[1]

แต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไป เช่น[2]

  • ภาคกลาง เรียกว่า "สับปะรด"
  • ภาคอีสาน เรียกว่า "บักนัด, หมากนัด"
  • ภาคเหนือ เรียกว่า "บะนัด, บะขะนัด, บ่อนัด"
  • ภาคใต้ เรียกว่า "ย่านัด, หย่านัด, ย่านนัด, ขนุนทอง, มะลิ" (โดย ย่านัด หรือ หย่านัด มีที่มาจากภาษาโปรตุเกสAnanás)[3]

ลักษณะ

รูปลักษณะ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90–100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลาย


สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย


สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือพวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือเรียกว่าไม้ดิน, พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ, และพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน


ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้ด้วย

สรรพคุณ

สับปะรดสด

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)

พลังงาน

202 kJ (48 kcal)

คาร์โบไฮเดรต

12.63 g

น้ำตาล

9.26 g

ใยอาหาร

1.4 g

ไขมัน

0.12 g

โปรตีน

0.54 g

วิตามิน

ไทอามีน (บี1)

(7%) 0.079 มก.

ไรโบเฟลวิน (บี2)

(3%) 0.031 มก.

ไนอาซิน (บี3)

(3%) 0.489 มก.

กรดแพนโทเทนิก (บี5 )

(4%) 0.205 มก.

วิตามินบี6

(8%) 0.110 มก.

โฟเลต (บี9)

(4%) 15 μg

วิตามินซี

(44%) 36.2 มก.

แร่ธาตุ

แคลเซียม

(1%) 13 มก.

เหล็ก

(2%) 0.28 มก.

แมกนีเซียม

(3%) 12 มก.

ฟอสฟอรัส

(1%) 8 มก.

โพแทสเซียม

(2%) 115 มก.

สังกะสี

(1%) 0.10 มก.

หน่วย


ความคิดเห็น